อุดฟัน

อุดฟัน

คือ การอุดฟัน (tooth filling) คือ การรักษาอาการของฟันผุกร่อน ที่เห็นเป็นรูชัดเจน ฟันแตก ฟันบิ่น ซึ่งอยู่ในระยะที่มีการทำลายเฉพาะถึงส่วนเนื้อฟัน ซึ่งเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกันทั้งการใช้ฟันขบเคี้ยวของที่แข็งด้วยความแรงที่มากไป

การผุกร่อนจากแบคทีเรียที่กลายเป็นกรด หรือสาเหตุอื่น ๆ โดยอาการเหล่านี้จะนำมาซึ่งปัญหาของการใช้ฟันเคี้ยวอาหาร และจะมีผลทำให้เกิดการลุกลามเสียหายของฟันมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการแก้ไขจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยการอุดฟันนั้นจะทำให้ฟันกลับมาสมบูรณ์และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม

​อุดฟันมีกี่แบบ

เราแบ่งการอุดฟันตามชนิดของวัสดุที่ใช้ ได้เป็น 2 แบบ

1.อุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม (Amalgam) อมัลกัมได้จากการผสมกันระหว่างปรอท เงิน ดีบุกหรือโลหะอื่นๆ เป็นวัสดุอุดฟันให้สีโลหะ สมัยก่อนนิยมใช้ในการอุดฟันหลัง เช่น ฟันกราม เเละฟันกรามน้อย เพราะ มีจุดเด่นที่ความเเข็งเเรง ทนต่อเเรงบดเคี้ยวได้ดี ใช้งานได้นานถึง 10-15 ปี

2.อุดฟันด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิต (Composite Resin) วัสดุอุดฟันทำจากเรซินคอมโพสิต ให้สีเหมือนฟันธรรมชาติ จึงนิยมใช้อุดบริเวณฟันหน้าเพื่อความสวยงาม ภายหลังมีการพัฒนาให้เรซินคอมโพสิตความเเข็งเเรงขึ้น จึงใช้อุดฟันหลังได้ด้วย


3.กลาสไอโอโนเมอร์ (Glass ionomer Cement) นิยมใช้อุดฟันสำหรับเด็กเล็ก เเละผู้มีความเสี่ยงต่อฟันผุ เพราะกลาสไอโอโนเมอร์สามารถปล่อยฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุได้ นอกจากนี้ยังมีวัสดุอุดฟันชนิดอื่นๆ เช่น ทอง พอร์ซเลน

ทำไมถึงต้องอุดฟัน

โดยหลักเเล้วการอุดฟัน เป็นการทดแทนเนื้อฟันที่เสียไปด้วยวัสดุอุดฟัน เติมเนื้อฟันให้กลับมามีรูปร่างฟันปกติ ใช้บดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความสวยงาม ยิ่งเป็นกรณีที่คนไข้ฟันหน้าบิ่นเเตก


​การอุดฟันจะช่วยปิดช่องทางไม่ให้แบคทีเรียหรือเศษอาหารตกเข้าไปในโพรงฟัน จนเกิดอักเสบกับเนื้อฟันเพิ่มมากขึ้น นำมาซึ่งปัญหา เหงือกอักเสบ เป็นหนอง ฟันผุลามไปยังโพรงรากฟัน รากฟันเสื่อม ฟั


​ต้องบอกว่าการอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัมใช้กันน้อยลงเเล้ว เพราะมีส่วนผสมของโลหะ บวกกับกระบวนการอุดฟันที่มีการกรอเนื้อฟันออกมากกว่าอุดฟันวัสดุเรซินคอมโพสิต คนไข้เมื่ออุดฟันอมัลกัมต้องเว้นการเคี้ยวอาหารด้านที่อุดเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพราะวัสดุยังไม่เเข็ง


อุดฟันแบบไหนดี

ต้องบอกว่าการอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัมใช้กันน้อยลงเเล้ว เพราะมีส่วนผสมของโลหะ บวกกับกระบวนการอุดฟันที่มีการกรอเนื้อฟันออกมากกว่าอุดฟันวัสดุเรซินคอมโพสิต คนไข้เมื่ออุดฟันอมัลกัมต้องเว้นการเคี้ยวอาหารด้านที่อุดเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพราะวัสดุยังไม่เเข็งเเรงเต็มที่


การอุดฟันด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิต แบบสีเหมือนฟันเป็นที่นิยมมากในทางทันตกรรม เพราะกรอเนื้อฟันจริงน้อยกว่า เเละตัววัสดุอุดเรซินคอมโพสิตมีการพัฒนาให้วัสดุความเเข็งเเรงทนทานมากขึ้น เเละสีเดียวกับเนื้อฟันให้ความสวยงาม หลังอุดฟันเสร็จคนไข้สามารถเคี้ยวอาหารด้วยได้เลย


ขั้นตอนการอุดฟัน

  1. ทันตแพทย์รตรวจสุขภาพฟัน เช็คสภาพฟันผุ ประเมินการรักษาว่าการอุดฟันเพื่อแก้ไขได้หรือไม่ ทันตแพทย์จะกรอเนื้อฟันที่ผุมีการติดเชื้อออก ลักษณะจะเป็นเนื้อฟันที่นิ่ม ยุ่ย สีของเนื้อฟันนั้นอาจมีการเปลี่ยนสี ในขั้นตอนนี้ทันตแพทย์จะฉีดยาชาก่อน เพื่อป้องกันอาการปวดหรือเสียวฟัน ถ้าคนไข้มีฟันผุลึกจนเกือบถึงโพรงประสาทฟัน
  2. หลังจากการกรอเนื้อฟันผุออกแล้ว ถ้าฟันผุลึกเข้าไปชั้นในของเนื้อฟัน ทันตแพทย์จะใส่วัสดุรองพื้น ช่วยลดการเสียวฟัน
  3. ทันตแพทย์ทำการอุดฟันด้วยวัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน
  • ​ถ้าเป็นการอุดฟันแบบโลหะ
  • ถ้าเป็นการอุดฟันสีเหมือนฟัน จะมีการฉายแสงเพิ่มเข้ามาช่วยในการอุดฟัน
  • ​ต่อไป ซึ่งอาจจะใช้เวลามากหรือน้อยแตกต่างกันตามสภาพฟันของผู้ป่วย


​ข้อดีของการอุดฟัน

  • ป้องกันปัญหาฟันผุลุกลามไปยังโพรงประสาทฟัน
  • ลดอาการเสียวฟันที่เกิดจากฟันผุ อักเสบ
  • เติมเนื้อฟันให้เต็มเพื่อให้ฟันทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ช่วยเติมเต็มเนื้อฟันให้สวยงามเป็นธรรมชาติ เสริมสร้างความมั่นใจ


ข้อเเนะนำการดูเเลฟัน หลังอุดฟัน

  • ทำความสะอาดฟัน ใช้แปรงขนอ่อนนุ่มและแปรงฟันให้ถูกวิธี
  • ใช้ไหมขัดฟันร่วมกับน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ จะช่วยกำจัดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟันเเละป้องกันฟันผุได้ดียิ่งขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งเกิน เช่น น้ำแข็ง แครอทดิบ เมล็ดถั่วต่างๆ
  • เพราะอาจทำให้วัสดุแตกหรือหลุดได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่เย็นหรือร้อนจัดเพื่อเลี่ยงอาการเสียวฟันที่อาจเกิดขึ้นได้
  • กรณีที่คนไข้อุดฟันอมัลกัม ต้องงดการเคี้ยวด้วยฟันซี่ที่อุดเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อให้วัสดุอุดฟันแข็งตัวเต็มที่
  • พบทันแพทย์เพื่อเช็คสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน


​อาการที่พบหลังอุดฟัน

คนไข้อาจมีอาการเสียวฟันหลังทำการอุดฟัน แต่อาการนี้สามารถหายได้เองในช่วง 1-2 สัปดาห์ หรือมีอาการปวดฟันได้ สามารถทานยาระงับอาการปวดแต่หากอาการไม่ทุเลาลงหรือมีอาการผิดปกจะต้องไปพบแพทย์โดยด่วน


​คนไข้อุดฟันควรกลับมาพบทันตแพทย์เมื่อ

  • ฟันที่เคยอุดแตกหรือหลุด ควรมาอุดใหม่เพื่อป้องกันฟันผุลุกลามจนไม่สามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟัน
  • มีอาการเสียวฟันเกินกว่า 2-3 สัปดาห์
  • รู้สึกเจ็บฟันเมื่อเคี้ยวอาหาร อาจจะเกิดจากวัสดุอุดฟันสูงเกินไป
  • ปวดฟันรุนแรงหลังอุดฟัน อาจะเป็นไปได้ว่าฟันซี่ที่ผุลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน ควรรีบปรึกษาทันตแแพทย์เพื่อรับการรักษารากฟัน


อุดฟันนานมั้ย

ปกติการอุดฟันจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที แต่จะใช้เวลามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งฟัน สภาพฟันซี่ที่ผุของคนไข้


​อุดฟันเจ็บมั้ย

ระหว่างการอุดฟันจะรู้สึกเสียวฟันเมื่อต้องมีการกรอฟัน ถ้าคนไข้ยิ่งฟันผุลึกใกล้กับโพรงประสาทฟันมาก ก็ยิงมีโอกาสเจ็บมาก เเต่คุณหมอจะให้ยาชาป้องกันการเจ็บปวดหรือเสียวฟันที่อาจจะเกิดขึ้นค่ะ

หลังอุดฟันอาจพบว่ามีอาการเสียวฟันได้ เเต่จะหายเป็นปกติใน 1-2 สัปดาห์ ช่วงเเรกควรหลีกเลี่ยงอาหารเย็นจัดหรือร้อนจัดไปก่อนค่ะ


​อุดฟันเเล้วปวดฟัน

อาการปวดหลังอุดฟันเป็นเรื่องปกติ คนไข้สามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาแผลเเละอาการบวมได้ กินได้ต่อเนื่องจนกว่าอาการปวดหรือเสียวฟันลดลงตามที่ทันตแพทย์เเนะนำ แต่หากมีอาการรุนแรงควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์โดยด่วน